วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Consumer Behavior

พฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (Consumer Behavior)



ปัจจุบัน นี้มีการใช้อินเตอร์เน็ตกันในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและ พฤติกรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตที่เป็นอุปสรรคในด้านต่างๆ เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิต และเป็นปัญหาสังคม

สภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตผิดวัตถุประสงค์

1. โรคติดอินเตอร์เน็ต (Webaholic) พฤติกรรม ต่าง ๆ การเล่นอินเตอร์เน็ตทำให้คุณเสียงาน หรือ แม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนันการติดการพนัน ประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยว ข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเองระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่างเป็นเวลา นานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต ความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้ รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้ ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีก เลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น คนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงานการเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้ จ่ายมาก มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

2. เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม ( Pornography/Indecent Content ) รื่อง ของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้ว บนโลกอินเตอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW หรือ IT ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมาแต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็น ที่โจ่งแจ้งบนอินเตอร์เน็ต และสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่ จะให้ความดูแลได้เต็มที่เพราะว่าอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและ เปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเราไม่สามารถจับกุม หรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการใช้อินเตอร์เน็ตที่ขาดความพอเพียง ความพอประมาณ ไร้ซึ่งความสมเหตุสมผล และไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี การที่จะกระทำอะไรที่ขาดสติ ขาดความรู้ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายทั่งในด้านเศรษฐกิจและปัญหาสังคมโดยรวม

แนวทางการแก้ปัญหารการใช้อินเทอร์เน็ตผิดวัตถุประสงค์

1. นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาประยุกต์ใช้ได้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เพื่อลดกระแสโลกาภิวัตน์ และให้เป็นไปอย่างสมดุล สมเหตุสมผลในด้านทุนมนุษย์ ทุนเศรษฐกิจ (การเงิน) ทุนทรัพยากร (พลังงาน)

2. ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่าง แท้จริง โดยประยุกต์หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงคือ ความพอประมาณ ด้านเทคโนโลยี ความเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม พอเพียงกับการแก้ปัญหา ไม่สร้างระบบการผลิตมากเกินไป (Over Production) หรือ ใช้เทคโนโลยีมากเกินไป (Over Engineering) อะไรที่มากเกินไป หรือ ขาดแคลน ย่อมเป็นความสูญเปล่า ไม่ก่อประโยชน์อันใด หรือ สร้างประโยชน์ไม่ได้ และอาจจะสร้างโทษภายหลัง เป็นสาเหตุกระทบใน หัวข้ออื่น เช่น ทรัพยากรที่ถูกใช้อย่างรวดเร็ว การเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเทคโนโลยี เป็นต้น มีเหตุผล การลดต้นทุน หรือ รายจ่าย ย่อมทำให้เราเพิ่มกำไร หรือ รายเหลือของประชาชน ทำให้เกิดการออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินความจำเป็น หรือ ใช้จ่ายด้วยความพอดีอีกทั้งยังลดการใช้วัตถุดิบ และอีกนัยหนึ่งด้านสังคมประชาชน คนไทยจะมีรายเหลือมากขึ้น เมื่อเรารู้จัก

3. ประหยัด และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนลง ภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกัน ในความหมาย นี้คือ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) จะต้องมี แนวทางป้องกันไม่ ให้ทำอะไรที่เสี่ยงเกินไป พอตัว และป้องกันปัญหาไว้ก่อนที่ปัญหาจะเกิด โดยคำนึงถึงผลที่จะตามมา หากเกิดปัญหาจากความเสี่ยงในด้านลบ หรือ ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดการณ์ไว้ว่ายังสามารถรับมือได้หรือไม่ มีคุณธรรม ความชอบธรรม เป็นสิ่งที่ขาดในสังคมปัจจุบัน เป็นคุณสมบัติที่ขาดไป ของผู้บริหารองค์การบางคนนักการเมืองบางท่าน บางกลุ่มข้าราชการ บางกลุ่มของผู้ประกอบการ และขาดการกลไกการตรวจสอบจากภาคประชาชนคนทั่วไป